
ผู้สร้างอีวา
ผู้สร้างอีวา
ผู้สร้างอีวา
June 2004.
สุพิน ธนวัฒน์เสรี
คริสต์ศาสนิกชน เชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้าง “อาดัม” และ “อีวา” แต่สำหรับหมู่ผู้มีจิตใจอยู่ผิดร่างแล้ว เขาฝากชีวิต และการเกิดใหม่ไว้ในมือของหมอศัลยแพทย์ ซึ่งในจำนวนนั้นมีชื่อของหมอปรีชา เตียวตรานนท์อยู่ด้วย
ชื่อเสียงของหมอปรีชา เตียวตรานนท์ เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นในแวดวงชาย-หญิงที่ต้องการผ่าตัดแปลงเพศ ด้วยมีฝีมือประณีต และปลอดโรคแทรกซ้อน
“หลังจบแพทย์ศาสตร์จากจุฬาฯ เข้าฝึกหัดในโรงพยาบาลจุฬา 1 ปี จากนั้นไปเป็นแพทย์ฝึกหัดอยู่ที่อเมริกานานถึง 8 ปี ค่อยๆไต่เต้าสู่ระดับศัลยแพทย์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญการผ่าตัดมะเร็งในสถาบันมะเร็งแห่งชาติของอเมริกา ทำทั้งตบแต่งมะเร็งบนใบหน้า และมะเร็งในส่วนอื่นๆ
กลับมาทำงานในจุฬาฯ ได้ปีเดียว ก็บินกลับไปต่อด้านศัลยกรรมแบบ Micro Surgery ประเภทต่อนิ้ว ต่อหูขาดที่ออสเตรเลีย อีก 1 ปี
ประสบการณ์การทำงาน ทำให้ผมแม่นเรื่องอนาโตมี กล้ามเนื้อ เส้นประสาท เส้นเลือด เป็อย่างดี
จุดที่พลิกผันให้เข้าสู่การเป็นหมอผ่าตัดแปลงเพศ คือ มีคนไข้จำนวนมากที่ผ่าตัดแปลงเพศจากที่อื่นมาขอให้รักษาในสภาพบอบช้ำ
หลายคนมาในอาการแย่มาก เนื้อเยื่ออะไรก็ไม่เหลือ เราต้องแก้ไขด้วยความยากลำบาก ก็เริ่มคิดว่า เราควรจะทำเอง เพื่อช่วยให้คนกลุ่มนี้ไม่ทรมานเพราะหมอที่ทำผิดๆถูก ทำให้คนไข้ทั้งเจ็บตัว ทั้งเสียเงินหลายต่อ
ผมเดินทางไปต่างประเทศอีกครั้ง ดูงานทั้งในลอนดอน ประเทศอังกฤษ ต่อด้วย Stanford University และโรงพยาบาล John Hopkins ในอเมริกา เพื่อศึกษาเรื่องผ่าตัดแปลงเพศโดยเฉพาะ
กลับมาประเทศไทยอีกครั้ง ยังคงประจำที่จุฬา ฯ และเริ่มเปิดให้บริการผ่าตัดแปลงเพศเพศช่วงปี 1980 (2523) คนไข้หลักตอนนั้น เป็นหญิงทำงานกลางคืน ผ่าตัดแปลงเพศเป็นหญิงเพื่อหารายได้ บางคนอยู่ทิฟฟานี่ บางคนประจำที่อัลคาซาร์ จากนั้นค่อยๆลงมาสู่กลุ่มช่างเสริมสวย และคนทำงานบริการด้านอื่นๆ
เวลาที่เดินทางไปโชว์ต่างแดน คนเหล่านี้โฆษณาให้ฟรี ๆ ทำให้ลูกค้าต่างประเทศเริ่มหลั่งไหลเข้ามา ปัจจุบันกลุ่มคนที่เดินทางเข้ามาใช้บริการในประเทศไทย เป็นกลุ่มที่ได้รับการศึกษา และ หน้าที่การงานดีมากขึ้น
มีตั้งแต่นักศึกษามหาวิทยาลัย นักนิติศาสตร์ นายแบงก์ วิศวกร หมอ ส่วนคนไข้ต่างประเทศที่ผมเคยผ่าตัด สูงสุดก็เป็นถึงโปรเฟสเซอร์ชื่อดัง
ที่อธิบายทั้งหมดนี้ มิได้ต้องการจะอวดว่ามีลูกค้าผู้ทรงเกียรติมากมายในมือ แต่หมอกำลังจะบอกว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องสามัญที่มีอัตราการเกิดสูง และคนไข้พร้อมจะแสดงตนมากขึ้น
สมัยเริ่มทำการผ่าตัด ผมถูก criticize มาก แม้แต่ในโรงพยาบาลจุฬาฯ เองก็ตาม ข้อหาที่ได้รับคือ เป็นการส่งเสริมให้ผู้ผ่าตัดนี้ไปค้าประเวณี
สังคมเรียกหญิงค้าประเวณีว่า ผู้หญิงหากิน แล้วพอเขาแปลงเพศแล้วเป็นหญิง จะทำมาหากินบ้าง จะผิดตรงไหน คนมัวแต่ไปมองเรื่องนี้ ไม่ได้มองว่าเขาเจ็บปวดทรมานขนาดไหนที่ถูกหน่วงเหนี่ยวอยู่ในร่างกายแบบผู้ชาย แล้วใครเป็นคนรับกรรม ก็ลูกเมียไง มารู้ทีหลังว่าคนที่เราอยู่กินด้วยเขาอยากเป็นผู้หญิง เพราะสังคมไม่ยอมให้เขาเปลี่ยนตั้งแต่แรก
ผมไปงานแต่งงานมามากนะ ทั้งไฮโซ ทั้งคนที่มีการศึกษา หน้าตา ฐานะดี เจ้าบ่าวบางคนแค่เห็นหน้า ผมก็รู้อนาคตแล้ว สงสารเจ้าสาว
คนไข้ที่ผ่านมือผม มีหลากหลาย มีชายเซี่ยงไฮ้ วัย 22 ที่เกลียดกลัวอวัยวะเพศของตัวเอง ชีวิตทรมานมาตลอด ล่าสุด พ่อแม่เป็นฝ่ายให้กำลังใจในการผ่าตัด
มีชายวัยกลางคนอายุ 50 มีลูกแล้วถึง 8 คน เคยสมัครไปรบที่เวียดนามเพื่อแสดงความเป็นแมน แต่สุดท้ายก็ทนสิ่งที่ใจเรียกร้องไม่ได้
ชายคนหนึ่งแต่งงานแล้ว แต่ไม่มีลูก มีความกดดันมาก พยายามหลับนอนกับภรรยาวันละ 2-3 ครั้ง เพื่ออวดความเป็นอาชาไนย ภายหลังที่สามีสารภาพความในใจที่แท้จริง ภรรยาเสียใจฟูมฟายมาก
ระดับของจิตใจที่เป็นหญิงจะมี 4 ระดับ ระดับแรกคือเป็นกลุ่ม Homodexual กลุ่มที่ 2 คือ Transvesite ชีวิตประจำวันปกติเป็นชาย แต่ตกกลางคืน หรืออยู่ในที่ลับสายตาคน จะนุ่งห่มเป็นหญิง กลุ่มที่ 3 คือ Psycho-path เห็นอวัยวะเพศของตนไม่ได้จะคุ้มคลั่งถึงขั้นตัดทิ้ง และกลุ่มที่ 4 Transexuali รู้สภาพจิตใจของตนเอง และมีความต้องการจะเปลี่ยนร่างกายให้สัมพันธ์กับใจ
ผมจะผ่าตัดให้คนไข้ในกลุ่มที่ 4 เท่านั้น
ในอเมริกา บางรัฐอนุญาตให้เบิกได้ ถือว่าเป็นอาการป่วย ควรแก่การสนับสนุนให้รักษา หรือในมุสลิมบางประเทศอย่างอิหร่าน ก็ยอมให้มีการผ่าตัดแปลงเพศได้ แต่ถ้าเป็นโฮโมเซ็กชวล จะถูกฆ่าตัดคอ สิงคโปร์และมาเลเซียก็มีกฎหมายรองรับสิทธิคนกลุ่มนี้ มีคนไข้คนหนึ่งของผมเป็นมุสลิม ยืนยันว่าในคัมภีร์กุรอ่านบ่งไว้แล้วว่าการแปลงเพศไม่ผิด ถือเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามหลักศาสนา แต่ถ้าเป็นรักร่วมเพศสิ ถือว่าผิด
ที่ว่าเป็นอาการ “ป่วย” เพราะจากหลักฐานทางการแพทย์พบว่า คนไข้เหล่านี้มีความผิดปกติทาง “โครโมโซม” และ การทำงานของ “เซลล์สมอง” เป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด ไม่ใช่ความบกพร่องในการเลี้ยงดู
ในโลกนี้ไม่เคยปรากฏว่ามี ยา ชนิดใดที่รักษาให้พวกเขากลายเป็นหญิงได่ ฉะนั้นทางแก้ไขทางเดียวคือ การสร้างองค์ประกอบภายใน สรีระให้เป็นผู้หญิง โดยใช้ยาเป็นส่วนเสริม
ไม่ใช่เฉพาะกรณีชายเป็นหญิงเท่านั้น มีคนไข้ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงเป็นชายด้วยเช่นกัน แต่เปอร์เซนต์สำเร็จในการผ่าตัดมีน้อย ผมเองก็เคยผ่าตัดหญิงให้เป็นชายเพียง 60 รายเท่านั้น เพราะมีความยุ่งยากมากกว่า เนื่องจากต้องตัดเนื้อในส่วนแขนหรือหน้าท้องเพื่อมาทำเป็นโคนองคชาติ และยังต้องใส่ซิลิโคนเป็นลูกอัณฑะ ท่อปัสสาวะที่ยื่นออกมานอกร่างกายให้ยืนฉี่ได้ และเก็บคลิตอริสและเส้นประสาทไว้เป็นปลายองคชาติสำหรับรับรู้ความรู้สึก แต่ปัญหาที่พบภายหลังคือ องคชาติไม่แข็งตัว
เท่าที่พบสถิติ ผู้ป่วยประเภทนี้วมีมากถึง 3 % ของประชากรโลก ในจีนพบผู้ป่วยผิดเพศรอการผ่าตัดมากถึง 500 000 คน และถ้าคิดจากฐานประชากรไทยมี 60 ล้านคน ก็จะมีผู้ป่วยนี้มากถึง 2 000 คน ในเบลเยียมพบคนไข้ชายที่มีจิตใจเป็นหญิง 1 คน ในทุกๆ 16 000 คน และหญิงเป็นชาย 1 คน ทุกๆ 40 000 คน และมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
News & Updated
Lecture symposium @ University of Zurich hospital
Lecture symposium. University of Zurich Hospital Surgery Department. Performing Facial Feminization Surgery with U of Zurich hospital Plastic surgery Department team and Speaker for Sex Reassignment Surgery with 40 years experience. Date: April 2016.
Geschlechtsangleichung in Thailand
Ein Faktor gelungener Operation ist die Erregbarkeit Eine Operation gilt als gelungen, wenn sie drei Dinge erreicht: ausreichende Tiefe, gerne auch Feuchtigkeit für die sexuelle Funktion; Erregbarkeit für das Lustempfinden; und ein gutes optisches Erscheinungsbild. “Wenn sie sehr jung sind, wollen sie alles: Erregung, gutes Aussehen, und die Tiefe für die sexuelle Funktion. Je älter […]
the best gender reassignment surgeon in Asia
VANITY FAIR Italy Magazine Dear Dr.Preecha, Preecha Aesthetic Institute Milan, the 9th of February 2016 We are working on a story about how Bangkok became a global gender change destination and while researching the story we realized that you, sir, with your pioneer work, are on of the main protagonists of this story. So it […]
How Thailand Became a Global Gender-Change Destination
October 27, 2015 By: Jason Gale (Bloomberg) Preecha, who performed Thailand’s first gender surgery in 1975, attributes the country’s popularity for the procedure to three things: “No. 1, it’s very cheap in Thailand,” he says. “No. 2, good result, and No. 3, good hospitality — they can have a side trip for tourism.” Read full […]
View all updates
TESTIMONIALS
View all testimonials
Just want to share how grateful I am to be part of the PAI family. Special mention to Dr. Burin and Bune the secretary, the staff and the nurses who looked after me when I had my SRS done last March 11, 2020. Now I’m back here in Sydney, Australia and recovering well. Keep changing […]