
ศัลยกรรมแปลงเพศจาก หญิง เป็น ชาย โดยใช้ขยายคลิสตอริส (Metoidioplasty)
ศัลยกรรมแปลงเพศจาก หญิง เป็น ชาย โดยใช้ขยายคลิสตอริส (Metoidioplasty)
ศัลยกรรมแปลงเพศจาก หญิง เป็น ชาย โดยใช้ขยายคลิสตอริส (Metoidioplasty)
โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ของ PAI เพื่อสอบถามราคา
ค่ารักษา และบริการจาก PAI (รวมอยู่ในค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้ว)
ค่าผ่าตัด
- ค่าแพทย์
- ค่าปรึกษาแพทย์
- ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์และค่ายา
- ค่าดูแลก่อนและหลังผ่าตัด
- ค่าห้องพักของโรงพยาบาล
การดูแลหลังผ่าตัดรวม
- ยาและเวชภัณฑ์
- การตรวจติดตามผลหลังผ่าตัด
- ห้องพักของโรงพยาบาล
รับทำบันทึกส่วนตัวโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
- ร่วมแบ่งปันประสบการณ์น่าประทับใจผ่านบันทึกส่วนตัวลงในเว็บไซต์ของ PAI
ข้อควรรู้ก่อนเข้ารับการผ่าตัดแปลงเพศ
การผ่าตัดแปลงเพศจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญอย่างสูงของศัลยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด โดยจากการทำงานอันยาวนานกว่า 30 ปีและเป็นที่ยอมรับทั้งจากในประเทศและนานาชาติในการผ่าตัดแปลงเพศผู้ป่วยจากทั่วโลก (จากชายเป็นหญิงประมาณ 3300 ราย และจากหญิงเป็นชายประมาณ 280 ราย) ของนายแพทย์ปรีชา เตียวตรานนท์ รวมไปถึงการเป็นผู้ฝึกหัดศัลยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดแปลงเพศทั้งหมดของประเทศไทย เป็นสิ่งยืนยันความเป็นมืออาชีพของทีมศัลยแพทย์ของ PAI
ผู้ที่จะเข้ารับการผ่าตัดแปลงเพศต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี และจะต้องได้รับการอนุญาตจากผู้ปกครองหากมีอายุต่ำกว่า 20 ปี
การใช้ฮอร์โมนก่อนการแปลงเพศ
โดยทั่วไปแล้วก่อนที่คนไข้จะตัดสินใจผ่าตัดแปลงเพศ จิตแพทย์จะต้องทำการทดสอบคนไข้ก่อนว่าพร้อมที่จะใช้ชีวิตเป็นผู้ชายหรือไม่โดยการให้คนไข้รับฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรน (Testosterone) ก่อนการผ่าตัด วัตถุประสงค์หลักของการใช้ฮอร์โมนคือเพื่อเพิ่มลักษณะของเพศชายได้แก่ กล้ามเนื้อและเสียงที่ทุ้มต่ำ เป็นต้น ลักษณะเหล่านี้จะเกิดขึ้นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของฮอร์โมน ปริมาณฮอร์โมนที่ได้รับ และการตอบสนองต่อฮอร์โมนจากคนไข้เอง หลังจากเริ่มรับฮอร์โมนไปแล้วคนไข้จะมีอาการต่างๆได้แก่ มีอาการผิวมันและเป็นสิวหลังจากรับฮอร์โมนไปแล้วประมาณ 1 ถึง 3 เดือน หรือเสียงเริ่มทุ้มต่ำหลังจากรับฮอร์โมนไปแล้วประมาณ 3 ถึง 6 เดือน หรือแม้กระทั่งประจำเดือนเริ่มขาดตั้งแต่ 1 ถึง 6 เดือนหลังจากเริ่มรับฮอร์โมน อย่างไรก็ตามยังมีอาการต่างๆอีกมากที่จะเกิดขึ้นกับคนไข้ ดังนั้นการใช้ฮอร์โมนควรอยู่ภายใต้การวินิจฉัยของแพทย์อย่างเคร่งครัด
เกี่ยวกับการผ่าตัดแปลงเพศจากหญิงเป็นชาย
ขั้นตอนสำคัญของการผ่าตัดแปลงเพศจากหญิงเป็นชายมีอยู่ 4 ขั้นตอนด้วยกัน ได้แก่ (1) การตัดมดลูกและรังไข่ เตรียมท่อปัสสาวะ และการตัดหน้าอก (2) การทำอวัยวะเพศชายเทียม (3) เชื่อมท่อปัสสาวะใหม่กับซิลิโคนที่นำมาทำเป็นอวัยวะเพศชายเทียม (4) จัดแต่งซิลิโคนและปรับรูปลักษณ์อวัยวะเพศภายนอก
วิธีการสร้างอวัยวะเพศชาย
การสร้างอวัยวะเพศชายเทียมมีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน ได้แก่
- การนำเนื้อส่วนหน้าท้องมาทำ วิธีการนี้จะต้องผ่าตัดทั้งหมดประมาณ 3 ถึง 4 ครั้งด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ (1) การม้วนเนื้อหน้าท้องมาไว้ที่เอวเพื่อนำมาทำเป็นท่อปัสสาวะ (2) ผ่าตัดย้ายท่อปัสสาวะที่ทำขึ้นมาใหม่ไปไว้ที่อวัยวะเพศ (3) ผ่าตัดต่อให้มีลักษณะเป็นท่อปัสสาวะยื่นออกมาจากอวัยวะเพศ (4) ฝังแกนอวัยวะเพศชายเทียมซึ่งสามารถกำหนดความยาวได้โดยประมาณ 4 ถึง 5 นิ้ว หรือขึ้นอยู่กับพื้นที่เนื้อหน้าท้อง ข้อเสียของวิธีการนี้คือมีการผ่าตัดหลายขั้นตอน มีแผลเป็นเกิดขึ้นมากแต่สามารถปกปิดด้วยเสื้อผ้า ค่าใช้จ่ายสูง และคนไข้ไม่มีความรู้สึกทางเพศเมื่อมีเพศสัมพันธ์
- วิธีการสุดท้าย (Metoidioplasty) เป็นวิธีที่นิยมทำกันมากในประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากคนไข้จะยังคงมีความรู้สึกทางเพศเมื่อมีเพศสัมพันธ์ วิธีการเริ่มต้นจากการให้ฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรน (Testosterone) กับคนไข้ในระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งฮอร์โมนจะไปช่วยขยายคลิโตริส (Clitoris) ให้มีขนาดเพิ่มขึ้นประมาณ 4 ถึง 6 เซนติเมตร หลังจากนั้นศัลยแพทย์จึงทำการย้ายคลิโตริสให้มาอยู่ในตำแหน่งของอวัยวะเพศชาย ข้อดีของวิธีการนี้นอกจากคนไข้จะมีความรู้สึกทางเพศเมื่อมีเพศสัมพันธ์ดังที่กล่าวมาแล้ว ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดก็ต่ำ อย่างไรก็ตามอวัยวะเพศใหม่ที่ได้จะมีขนาดประมาณ 1 นิ้วเท่านั้น
สิ่งแปลกปลอมที่ใส่เข้าร่างกาย
ศัลยแพทย์เลือกใช้ซิลิโคนซึ่งได้มีการปรับแต่งรูปร่างแล้วมาใส่เป็นอวัยวะเพศเทียมชาย ความยาวของซิลิโคนที่นำมาใช้ขึ้นอยู่กับวิธีการสร้างอวัยวะเพศชายเทียม
ผลลัพธ์
คนไข้ต้องทำความเข้าใจถึงข้อดีและข้อเสียของการสร้างอวัยวะเพศชายเทียมแต่ละวิธีอย่างชัดเจน เช่น วิธีการสร้างอวัยวะเพศชายเทียมจากคลิโตริสเท่านั้นที่คนไข้จะยังคงมีความรู้สึกทางเพศเมื่อมีเพศสัมพันธ์ แต่ขนาดของอวัยวะเพศที่ได้จะมีขนาดแค่ประมาณ 1 นิ้ว นอกจากนี้ยังรวมไปถึงลักษณะอวัยวะเพศที่ปรากฏยังไม่เหมือนจริง 100%
ระยะเวลาการผ่าตัด
2 ชั่วโมงครึ่งถึง 3 ชั่วโมง
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อนที่คนไข้มีโอกาสพบคือ มีอาการติดเชื้อ เลือดออก อย่างไรก็ตามภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้สามารถลดลงได้จากการที่คนไข้ปฏิบัติตามขั้นตอนการดูแลรักษาอย่างเคร่งครัดร่วมกับความชำนาญของศัลยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด
ผลข้างเคียง
คนไข้อาจจะมีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ซึ่งจะต้องกลับมาทำการผ่าตัดซ้ำอีกเพื่อแก้ไขอาการเหล่านี้
ระยะเวลาพักฟื้น
ในขั้นตอนแรกของการผ่าตัดคือการตัดมดลูกและรังไข่ เตรียมท่อปัสสาวะ และการตัดหน้าอก คนไข้จะใช้เวลาพักฟื้นประมาณ 7 ถึง 9 วัน
ในขั้นตอนการทำอวัยวะเพศชายเทียม คนไข้จะใช้เวลาพักฟื้นประมาณ 6 ถึง 10 วัน
ในขั้นตอนการเชื่อมท่อปัสสาวะใหม่กับซิลิโคนที่นำมาทำเป็นอวัยวะเพศชายเทียมซึ่งต้องทำหลังขั้นตอนที่ 2 อยู่ประมาณ 6 เดือน คนไข้จะต้องอยู่โรงพยาบาล 1 คืนเพื่อดูอาการ และพักฟื้นต่ออีกประมาณ 7 วัน
ในขั้นตอนการจัดแต่งซิลิโคนและปรับรูปลักษณ์อวัยวะเพศภายนอกซึ่งต้องทำหลังขั้นตอนที่ 3 อยู่ประมาณ 3 เดือน คนไข้จะต้องอยู่โรงพยาบาล 1 คืนเพื่อดูอาการ และพักฟื้นต่ออีกประมาณ 7 วัน
การใช้ยาระงับความเจ็บปวดก่อนผ่าตัด
วางยาสลบ
การเตรียมตัว
การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัด
เนื่องจาก PAI เป็นสถาบันที่เชี่ยวชาญทางศัลยกรรมพลาสติกและการแปลงเพศที่มีความเป็นสากลและตระหนักถึงจรรยาบรรณทางการแพทย์เป็นอย่างสูง คนไข้จึงต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของ HBIGDA (the Harry Benjamin International Gender Dysphoria Association, Inc.) ตามมาตรฐานสากลก่อนเข้ารับการผ่าตัดแปลงเพศ ได้แก่
1. คนไข้จะต้องมีจดหมายรับรองจากนักบำบัดจิต หรือจิตแพทย์ หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางต่อมไร้ท่อ หรือแพทย์ทั่วไป
2. งดรับประทานหรือฉีดฮอร์โมนก่อนผ่าตัด 2 หรือ 4 อาทิตย์ตามลำดับ เพื่อลดโอกาสเส้นเลือดดำอุดตัน อย่างไรก็ตามการงดฮอร์โมนนี้จะต้องอยู่ภายใต้การวินิจฉัยของแพทย์อย่างเคร่งครัด
3. ตรวจร่างกายโดยละเอียด 3 อาทิตย์ก่อนเข้ารับการผ่าตัดแปลงเพศ โดยคนไข้จะต้องผ่านการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ตรวจเม็ดเลือด HIV เกลือแร่ น้ำตาล การทำงานของตับและไต ตรวจปัสสาวะ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นต้น
นอกจากนี้แล้วคนไข้จะต้อง
1. แจ้งอาการแพ้ยา ยาหรืออาหารเสริมที่ใช้ในปัจจุบันก่อนเข้ารับการผ่าตัดหากมีโรคประจำตัว โปรดแจ้งศัลยแพทย์ล่วงหน้า
2. งดแอสไพริน (aspirin) ไอบิวโพรเฟน (ibuprofen) และวิตามินอี ล่วงหน้า 2 อาทิตย์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด
3. งดสูบบุหรี่ก่อนผ่าตัด 2 อาทิตย์ และหลังผ่าตัด 4 อาทิตย์
สำหรับคนไข้ที่ติดเชื้อ HIV สามารถเข้ารับการผ่าตัดแปลงเพศได้ แต่จะต้องเพิ่มค่าใช้จ่าย 30 % จากปกติเนื่องจากจะต้องใช้อุปกรณ์การแพทย์เป็นส่วนตัว
การนัดผ่าตัด
โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ของ PAI เพื่อสอบถามราคาและกรอกแบบฟอร์มเข้าปรึกษาหรือรับการผ่าตัด เจ้าหน้าที่จะทำหารนัดหมายกับศัลยแพทย์เพื่อให้คำปรึกษาก่อน ( consult@pai.co.th หรือ โทรศัพท์ 02-715-0111-12, 081-813-6144 หรือโทรสาร 02-715-0113)
สรุปแผนการผ่าตัด
1. ทำการนัดหมายกับศัลยแพทย์เพื่อขอรับคำปรึกษาเป็นการส่วนตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัด เพื่อให้คนไข้เข้าใจถึงวิธีการ ผลลัพธ์ และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังผ่าตัด
2.การผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่งถึง 3 ชั่วโมง
3.พักรักษาตัวเพื่อดูอาการในโรงพยาบาล ระยะเวลาขึ้นอยู่กับขั้นตอนและวิธีการผ่าตัด
News & Updated
Lecture symposium @ University of Zurich hospital
Lecture symposium. University of Zurich Hospital Surgery Department. Performing Facial Feminization Surgery with U of Zurich hospital Plastic surgery Department team and Speaker for Sex Reassignment Surgery with 40 years experience. Date: April 2016.
Geschlechtsangleichung in Thailand
Ein Faktor gelungener Operation ist die Erregbarkeit Eine Operation gilt als gelungen, wenn sie drei Dinge erreicht: ausreichende Tiefe, gerne auch Feuchtigkeit für die sexuelle Funktion; Erregbarkeit für das Lustempfinden; und ein gutes optisches Erscheinungsbild. “Wenn sie sehr jung sind, wollen sie alles: Erregung, gutes Aussehen, und die Tiefe für die sexuelle Funktion. Je älter […]
the best gender reassignment surgeon in Asia
VANITY FAIR Italy Magazine Dear Dr.Preecha, Preecha Aesthetic Institute Milan, the 9th of February 2016 We are working on a story about how Bangkok became a global gender change destination and while researching the story we realized that you, sir, with your pioneer work, are on of the main protagonists of this story. So it […]
How Thailand Became a Global Gender-Change Destination
October 27, 2015 By: Jason Gale (Bloomberg) Preecha, who performed Thailand’s first gender surgery in 1975, attributes the country’s popularity for the procedure to three things: “No. 1, it’s very cheap in Thailand,” he says. “No. 2, good result, and No. 3, good hospitality — they can have a side trip for tourism.” Read full […]
View all updates
TESTIMONIALS
View all testimonials
Just want to share how grateful I am to be part of the PAI family. Special mention to Dr. Burin and Bune the secretary, the staff and the nurses who looked after me when I had my SRS done last March 11, 2020. Now I’m back here in Sydney, Australia and recovering well. Keep changing […]