
หมอนักบุญ..
หมอนักบุญ..
Thairath Newspaper
หมอนักบุญ ..เปลี่ยนความทุกข์ให้เปื้อนยิ้ม พลิกปมด้อยของชีวิตที่ ‘เลือกเกิดไม่ได้
บทความ – ไลฟ์สไตล์
วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน 2010
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ในประเทศไทยเอง มีคนจำนวนมากที่ต้องการความช่วยเหลือจากโรคพิการปากแหว่งเพดานโหว่ อาจไม่ใช่โรคที่ร้ายแรงถึงแก่ชีวิต แต่ก็คงไม่มีใครอยากเกิดมาอยู่ในสภาพแบบนี้เหมือนกัน ซึ่งจะว่าเรื่องการรักษายังมีจำนวนแพทย์ไม่พอเพียง หรือคนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคนี้เป็นคนจนเลยมีรายได้ไม่เพียงพอก็ตาม แต่ปัญหานี้ก็ได้สร้างความทุกข์ภายในใจ แม้ว่าภาพที่เห็นคือรอยยิ้ม และแววตาเป็นประกายของเด็กๆ ที่พวกเขายังไม่รู้เรื่องรู้ราวเลยก็ตาม อย่างวันนี้ที่ได้ไปพูดคุย ก็เป็นชาวบ้าน ซึ่งมีลูกน้อยวัยเพียงขวบเศษ และ2ขวบ ป่วยเป็นโรคนี้ ได้เข้ามารับการักษาฟรีจากมูลนิธิ Operation Smile ที่วันนี้ได้เดินทางมาเปลี่ยนรอยยิ้มใหม่ให้คนไข้นับ 100 ชีวิต ที่ โรงพยาบาลอำเภอแม่สอด จ. ตาก
คู่แม่ลูกที่มาจากแถบชายแดน อ. แม่สอด นี้เป็นครอบครัวคนไทย ที่เพิ่งมีลูกสาวเป็นครั้งแรก แต่ต้องมาเจอกับความผิดปกติของลูกสาวที่เกิดมา ซึ่งเธอก็ยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัด เพราะตั้งแต่ตั้งครรภ์ได้ทำตามที่แพทย์แนะนำในช่วงที่ฝากท้องทุกอย่าง
เรามีลูกคนเดียว ตอนแรกที่คลอดน้องก็เสียใจมาก ไม่คิดว่าจะเป็นแบบนี้ เพราะตอนตั้งท้องก็ทำตามคำแนะนำของคุณหมอ กินอาหารก็ปกติ พอเป็นแบบนี้เลย สงสารเขาที่สุดอยากให้เขาอาการดีขึ้น ดื่มนมเองได้ เพราะตอนนี้น้องทานนมไม่ได้เลย สำลักตลอด
อีกครอบครัวที่ประสบปัญหานี้ คือหญิงสาวชาวพม่า ที่อาศัยอยู่บริเวณตะเข็บชายแดนของอ.แม่สอด ได้เล่าว่า ในหมู่บ้านของเธอเชื่อว่าโรคนี้เกิดจากถูกผีเข้า และเป็นโรคนี้กันมาก แต่ก็ไม่ได้รับการเหลียวแลจากประเทศบ้านเกิดตน จึงต้องมาที่นี่เพื่อพาลูกมารักษา
ดิฉันเป็นคนพม่า มีลูกทั้งหมด 4 คนค่ะ คนนี้ที่ป่วยเป็นคนเล็ก? อายุเพิ่งจะ 6 เดือน ตอนแรกที่เห็นว่าลูกไม่ปกติก็รู้สึกสงสาร อยากพาเขาไปรักษา พอรู้ว่ามีที่พอจะช่วยได้ เลยข้ามมาที่ฝั่งแม่สอด แต่บางคนไม่มีค่ารถก็มาไม่ได้
เป็นความจริงที่น่าหดหู่ แต่ก็เป็นเรื่องที่น่าชื่นชมสำหรับคนที่เห็นคุณค่าของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน อย่างคุณหมอนักบุญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์อภิชัย อังสพัทธ์ ศัลยแพทย์ตกแต่งจากมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม ประเทศไทย (Operation Smile International) ที่เข้ามาช่วยเหลือคนไข้มาเป็นเวลา 10 กว่าปีแล้ว ซึ่งคุณหมอได้เดินทางมาที่ อ. แม่สอด จ. ตาก เพื่อมาทำหน้าที่อาสาสมัคร ให้กับมูลนิธิฯ ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่หลักแทนการรักษาประจำอยู่ที่โรงพยาบาลเสียอีก
ทุกวันนี้ผมเป็นอาจารย์สอนนักศึกษาแพทย์ และเป็นแพทย์ประจำอยู่ที่โรงพยาบาลจุฬาฯ ด้วย ส่วนอีกหน้าที่นึงคือเป็นอาสาสมัครของมูลนิธิOperation Smile International ที่ทำมา10 กว่าปีแล้ว ก็จะไปช่วยผ่าตัดคนที่เป็นโรคนี้ ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีใครเห็นความสำคัญมาก เพราะอย่างบ้านเราถ้าในเขตภาคกลาง หรือในจังหวัดที่เจริญแล้ว คนจะเป็นน้อยมาก ซึ่งพอดันไปเกิดกับพื้นที่ทุรดารมีคนยากจนเยอะ เราเลยไม่ค่อยเห็นหรือใส่ใจกัน ซึ่งเราก็ต้องตามไปช่วย เพราะส่วนใหญ่ที่มารักษา ก็เป็นคนยากจนทั้งนั้น ยิ่งถ้ามาแถบนี้ ก็ไม่ใช่คนไทยอย่างเดียวด้วย มีทั้งคนที่อยู่ตามตะเข็บชายแดน และคนพม่า ซึ่งเราก็รักษาให้ฟรีเหมือนกันหมด เพราะที่ประเทศเขาเองก็ไม่ได้เหลียวแลอะไรเลย
นายแพทย์อภิชัย อังสพัทธ์ ศัลยแพทย์ประจำโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
สาเหตุของโรคนี้คุณหมอบอกว่ายังไม่สามารถระบุได้ชัดเจน เพราะส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยร่วม ทั้งเรื่องโภชนาการอาหาร และพันธุกรรม เพราะส่วนมากนั้นจะเกิดกับครอบครัวฐานะยากจน และกลุ่มคนที่แต่งงานกับชาติพันธุ์ตัวเองอย่างเดียวด้วย
โรคนี้มันเกิดจากหลายองค์ประกอบครับ ยังระบุไม่ได้ว่ามาจากสาเหตุอะไรกันแน่ แต่เท่าที่วิจัยกันมาก็คือเรื่องอาหารการกินของแม่เด็กนตอนตั้งครรภ์ทีมีสารโฟลิตต่ำ หรืออีกกรณีหนึ่งคือเรื่องการแต่งงานที่อยูแต่ในชาติพันธุ์ขอตัวเอง เพราะอย่างพวกชนเผ่าต่างๆ ตามชายแดนจะเป็นกันเยอะ ครับ เพราะเขาไม่ค่อยแต่งงานกับคนเผ่าอื่น การวนเวียนของโครโมโซมที่รุ่นปู่ย่าบางคนเคยเป็น อาจจะบังเอิญมาจับคู่กันก็ได้ แต่จริงๆมันก็มีปัจจัยแวดล้อมอีกมากครับที่มันแสดงผลออกมากลายเป็นโรคนี้ และแต่ละคนก็จะมีความรุนแรงของอาการที่แตกต่างกันด้วย การผ่าตัดก็เป็นวิธีเดียวที่ช่วยเขาได้ อาจไม่เป็นปกติ 100% แต่ก็ช่วยให้เขามีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมั่นใจเหมือนคนปกติ ไม่เป็นที่รังเกียจ บางคนเรียนจบเป็นแพทย์ เป็นวิศวกรยังมีเลยครับ
ชีวิตทุกวันนี้ของคุณหมอจึงเป็นเรื่องของการช่วยเหลือเพื่อนมุนษย์ด้วยกันมากกว่าหารายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำจากอาชีพแพทย์ศัลยกรรม
หมอคนอื่นผมไม่รู้นะว่าเขาจะใช้ชีวิตกันแบบไหน แต่สำหรับผมอยู่กับตรงนี้มานานมากแล้ว และผมเองก็ไม่เดือดร้อนอะไร แต่สำหรับคนที่เป็นโรคนี้ ไม่ต้องคิดถึงค่าผ่าตัดหรอกครับ คิดแค่ค่าเดินทางมาหาหมอ พวกเขายังไม่พอเลย เรามาหาเขาถึงที่ช่วยเหลือเขา มันไม่ได้หนักหนาอะไรเลยครับ แต่เดี๋ยวนี้ก็ดีนะ มีหมอรุ่นใหม่ๆ ที่มาช่วยงานนี้หลายคน แต่ถ้าให้พูดถึงหมอที่จบศัลยกรรมจริงๆก็ยังมีน้อยครับ เราก็ต้องเร่งผลิตหมอรุ่นใหม่ๆ ให้มารองรับผู้ป่วยให้เพียงพอด้วย
รอยยิ้มที่เต็มไปด้วยความคาดหวัง ที่ยังคงรอคอยความสุขที่แท้จริงหลังจากผ่าตัดเสร็จสมบูรณ์คือสิ่งเดียว และเป็นความหวังสุดท้ายที่คนบางคนอาจมองไม่เห็นค่า แต่สำหรับเด็กๆ และผู้ด้อยโอกาสเหล่านี้ กลับเป็นสิ่งที่ล้ำค่าที่สุดที่ช่วยให้พวกเขามีชีวิตใหม่? และมีรอยยิ้มที่สวยงามเหมือนคนอื่นๆเสียที
News & Updated
Lecture symposium @ University of Zurich hospital
Lecture symposium. University of Zurich Hospital Surgery Department. Performing Facial Feminization Surgery with U of Zurich hospital Plastic surgery Department team and Speaker for Sex Reassignment Surgery with 40 years experience. Date: April 2016.
Geschlechtsangleichung in Thailand
Ein Faktor gelungener Operation ist die Erregbarkeit Eine Operation gilt als gelungen, wenn sie drei Dinge erreicht: ausreichende Tiefe, gerne auch Feuchtigkeit für die sexuelle Funktion; Erregbarkeit für das Lustempfinden; und ein gutes optisches Erscheinungsbild. “Wenn sie sehr jung sind, wollen sie alles: Erregung, gutes Aussehen, und die Tiefe für die sexuelle Funktion. Je älter […]
the best gender reassignment surgeon in Asia
VANITY FAIR Italy Magazine Dear Dr.Preecha, Preecha Aesthetic Institute Milan, the 9th of February 2016 We are working on a story about how Bangkok became a global gender change destination and while researching the story we realized that you, sir, with your pioneer work, are on of the main protagonists of this story. So it […]
How Thailand Became a Global Gender-Change Destination
October 27, 2015 By: Jason Gale (Bloomberg) Preecha, who performed Thailand’s first gender surgery in 1975, attributes the country’s popularity for the procedure to three things: “No. 1, it’s very cheap in Thailand,” he says. “No. 2, good result, and No. 3, good hospitality — they can have a side trip for tourism.” Read full […]
View all updates
TESTIMONIALS
View all testimonials
Just want to share how grateful I am to be part of the PAI family. Special mention to Dr. Burin and Bune the secretary, the staff and the nurses who looked after me when I had my SRS done last March 11, 2020. Now I’m back here in Sydney, Australia and recovering well. Keep changing […]